
เคล็ดลับการกินเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อร่างกายแะลสุขภาพ ตามหลักโภชนาการนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะโภชนาการผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มคนที่วัยต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างจากวัยอื่นหรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของระบบต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุเป็นอย่างดี เพราะความต้องการพลังงานและสารอาหารในผู้สูงอายุแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน
การกินเพื่อสุขภาพเป็นประเด็นที่สำคัญซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวคุณ การให้สารอาหารที่เหมาะสมแก่ร่างกายและการรักษาน้ำหนักให้แข็งแรงสามารถช่วยให้คุณกระฉับกระเฉงได้ คุณจะใช้เวลาและเงินกับแพทย์ด้านสุขภาพน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีภาวะเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจ คำจำกัดความของการกินเพื่อสุขภาพจะเปลี่ยนไปเล็กน้อยเมื่อคุณอายุมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณอายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญของคุณก็จะช้าลง ดังนั้นคุณจึงต้องการแคลอรีน้อยกว่าเมื่อก่อน ร่างกายของคุณยังต้องการสารอาหารบางอย่างมากขึ้น นั่นหมายความว่าการเลือกอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีที่สุดแก่คุณมีความสำคัญมากกว่าที่เคยสำรวจเนื้อหาด้านล่างเพื่อดูเคล็ดลับในการหาอาหารที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายและงบประมาณของคุณ

เคล็ดลับในการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพเมื่ออายุมากขึ้น
หลักโภชนบัญญัติ 9 อย่างสำหรับผู้สูงอายุ จะประกอบไปด้วย
1. ทานอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่พอเหมาะและดูแลน้ำหนักตัวอยู่เสมอ
2. ทานข้าวเป็นหลัก โดยอาจเน้นข้าวกล้องและข้าวขัดสีน้อย
3. ทานพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลเป็นประจำ
4. เลือกทานปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ
5. นมและแคลเซียมดีต่อสุขภาพกระดูก
6. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
7. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอและควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวาน
8. กินอาหารปรุงสุก สะอาดและปลอดภัย
9. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ยังสมารถแบ่งจำหลักง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถจดจำชนิดอาหารที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักโภชนาการการกินเพื่อสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับผู้สูงอายุได้ดังนี้

กินเพลิน
สร้างบรรยากาศการรับประทานอาหารที่น่าเจริญอาหาร ร่วมกันทานอาหารพร้อมหน้าสายตาของทั้งครอบครัว มีกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ เช่น การทำอาหารร่วมกัน เปลี่ยนบรรยากาศการกินอาหารนอกบ้าน หรือไปเที่ยวกันทั้งครอบครัวเป็นครั้งคราว
สบายตา
การกินอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน A B1 B12 C E ลูทีน ซีแซนทีน ซีลีเนียม และสังกะสี ซึ่งช่วยให้เรตินาทำงาน ชะลอการเกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมที่พบในน้ำเต้า สควอช กะหล่ำดอก ผักบุ้ง บร็อคโคลี่ แครอท ข้าวโพด ฝรั่ง ส้ม มะละกอ เบอร์รี่ ตับ ไข่ หอยนางรม ปลา นม และน้ำมันพืช ฯลฯ
พาจำดี
การกินอาหารที่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท จะช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ด้วยการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า3 สารสื่อประสาทโคลิน เลซิตินและวิตามินบีต่างๆ ได้แก่ B1 B6 และ B12 เป็นต้น ซึ่งพบใน ปลาทะเลน้ำลึก ใบแปะก๊วย ไข่แดง กล้วย ถั่วเหลืองและข้าวกล้อง เป็นต้น
มีพลัง
โดยเฉลี่ยแล้วผู้สูงอายุต้องการพลังงานประมาณ 1,400 ถึง 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานแต่ละคนในแต่ละวัน ซึ่งผู้สูงอายุควรเสริมสร้างกล้ามเนื้อและชะลอความเสื่อมของกระดูก ด้วยการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน แคลเซียม วิตามินดี เค และแมกนีเซียม ซึ่งพบใน นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม เต้าหู้แข็ง ปลาเล็กปลาน้อย และงาดำ เป็นต้น เลือกรับประทานโปรตีนที่ดี เช่น ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำย่อยง่าย ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ อ่านบทความที่น่าสนใจ รีวิวโฟร์ยู